1. หลักการนำเสนอผลงาน
ในหน่วยการเรียนรู้ก่อนๆ ผู้เรียนได้เรียนรู้วิธีการใช้คอมพิวเตอร์ในการสร้างผลงานรูปแบบต่าง ๆ มาบ้างแล้ว การสร้างผลงานที่ดีนั้นต้องอาศัยความรู้และทักษะตลอดจนความคิดสร้างสรรค์ แต่ที่สำคัญที่สุดคือการสะสมประสบการณ์จากการที่ได้พบเห็นตัวอย่างและเรียนรู้จากตัวอย่าง
ในหน่วยการเรียนรู้นี้ จะกล่าวถึงการนำเสนอผลงานโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูปที่หาได้ทั่วไป การนำเสนอผลงานมีวัตถุประสงค์คือ
1. ให้ผู้ชมเข้าใจสาระสำคัญของการนำเสนอ
2. ให้ผู้ชมเกิดความประทับใจ ซึ่งจะนำไปสู่ความเชื่อถือในผลงานที่นำเสนอ
กานำเสนอผลงานโดยใช้สื่อโสตทัศนศึกษานั้น มีเหตุผลเบื้องลึกคือ หลักจิตวิทยการเรียนรู้ ซึ่งได้มีการค้นพบจากนักวิจัยว่า การรับรู้ข้อมูลโดยผ่านทางประสาทสัมผัสสองอย่างคือ ทั้งตาและหูพร้อมกันนั้น ทำให้เกิดการรับรู้ที่ดีกว่า รวมทั้งเกิดความสามารถในการจดจำได้มากกว่าการรับรู้โดยผ่านตาหรือหูอย่างใดอย่างหนึ่งเพียงอย่างเดียว จึงได้มีการพัฒนาสื่อโสตทัศนศึกษารูปแบบต่าง ๆ ขึ้นมาใช้งาน
หลักการขั้นพื้นฐานของการนำเสนอผลงานมีจุดเน้นสำคัญคือ
1.1 การดึงดูดความสนใจ โดยการออกแบบให้สิ่งที่ปรากฏต่อสายตานั้นชวนมอง และมีความสบายตาสบายใจเมื่อมอง ดังนั้นการเลือกองค์ประกอบต่าง ๆ เช่น สีพื้น แบบ สีและ ขนาดของตัวอักษร
รูปประกอบ ฯลฯ ต้องคำนึงถึงเรื่องนี้
1.2 ความชัดเจนและความกระชับของเนื้อหา ส่วนที่เป็นข้อความต้องสั้นแต่ได้ใจความชัดเจน ส่วนที่เป็นภาพประกอบต้องมีส่วนสัมผัสอย่างสร้างสรรค์กับข้อความที่ต้องการสื่อความหมาย การใช้ภาพประกอบมีประโยชน์มากดังคำพังเพยภาษาอังกฤษที่ว่า “A picture is worth a words” หรือ “ภาพภาพหนึ่งที่มีค่าเทียบเท่าคำพูดหนึ่งพันคำ” แต่ประโยคนี้คงไม่เป็นความจริงหากภาพนั้นไม่มีความสัมพันธ์อย่างสร้างสรรค์กับความหมายที่ต้องการสื่อ ดังนั้น ก่อนที่จะตัดสินใจใช้ภาพใดประกอบ จึงควรตอบคำถามให้ได้เสียก่อนว่าต้องการใช้ภาพเพื่อสื่อความหมายอะไร และภาพที่จะเลือกมานั้นสามารถทำหน้าที่สื่อความหมายเช่นนั้นจริงหรือไม่
1.3 ความเหมาะสมกับกลุ่มเป้าหมาย การสร้างจุดเน้นต้องคำนึงถึงกลุ่มเป้าหมายด้วย เช่น กลุ่มหมายเป็นเด็กการใช้สีสด ๆ และภาพการ์ตูนมีความเหมาะสม แต่ถ้ากลุ่มเป้าหมายเป็นผู้ใหญ่และเนื้อหาที่นำเสนอเป็นเรื่องวิชาการหรือธุรกิจ การใช้สีสันมากเกินไปและการใช้รูปการ์ตูน อาจจะทำให้ดูไม่น่าเชื่อถือเพราะขาดภาพลักษณ์ของการเอาจริงเอาจังไป
2. เครื่องมือที่ใช้ในการนำเนอผลงาน
ก่อนยุคคอมพิวเตอร์ การนำเสนอผลงานในที่ประชุมสัมมนามักจะใช้เครื่องมือสองอย่างคือ เครื่องฉายสไลด์ (Slide projector) และเครื่องฉายแผ่นใส(Overheard projector) การใช้งานเครื่องฉายสไลด์ค่อนข้างยุ่งยาก เพราะต้องใช้กล้องถ่ายรูปใส่ฟิล์มพิเศษที่ล้างออกมาแล้วเป็นภาพสำหรับฉายโดยเฉพาะ และต้องนำฟิล์มนั้นมาตัดใส่กรอบพิเศษจึงจะนำมาเข้าเครื่องฉายได้ ข้อดีของการฉายสไลด์คือได้ภาพที่สวยงามและชัดเจนแต่ข้อเสียคือต้องฉายในห้องที่มืดมาก เครื่องฉายแผ่นใสเป็นเครื่องที่ใช้งานทั่วไปได้มากกว่า แผ่นใสที่ใช้ตามปกติมีขนาดประมาณ 8 นิ้วคูณ 10 นิ้ว มีสองแบบคือแบบใช้ปากกา(พิเศษ)เขียน กับแบบที่ใช้เครื่องถ่ายเอกสาร แผ่นใสแบบใช้กับเครื่องถ่ายเอกสารใช้เขียนได้แต่แบบเขียนใช้กับเครื่องถ่ายเอกสารไม่ได้เพราะแผ่นใสจะละลายติดเครื่องถ่ายเอกสารทำให้เครื่องเสียเวลาซื้อแผ่นใสจึงต้องใช้ความระมัดระวังดูให้ดีว่าเป็นชนิดที่ตรงกับความต้องการหรือไม่ การฉายแผ่นใสสามารถทำได้ในห้องที่ไม่ต้องมืดมาก
เมื่อมาถึงยุคคอมพิวเตอร์ เครื่องมือที่ใช้นำเสนอผลงานก็เปลี่ยนไป เครื่องมือหลัก คือ
เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ (Data projector) เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ มีขนาดใหญ่ต้องติดตั้งประจำที่ ข้างในมีหลอดภาพ 3 หลอด ทำให้เกิดภาพแต่ละสีฉายผ่านเลนส์ออกมาปรากฏภาพบนหน้าจอ ความคมชัดยังไม่ดีนักและความสว่างของภาพก็ไม่มากพอ ทำให้ต้องฉายในห้องที่ค่อนข้างมืด เครื่องฉายรุ่นใหม่ได้แก้ไขจุดอ่อนเหล่านี้ได้หมดแล้ว โดยใช้แผ่นผลึกเหลว (Liquid Crystal Display หรือ LCD) เป็นตัวสร้างภาพ ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลงมาจนสามารถพกพาได้ อีกทั้งความสว่างและความคมชัดก็ดีขึ้นมากจนสามารถฉายในห้องที่มีแสงสว่างปานกลางได้
เครื่องคอมพิวเตอร์และเครื่องฉายภาพจากคอมพิวเตอร์ (Data projector) เครื่องฉายภาพคอมพิวเตอร์รุ่นแรก ๆ มีขนาดใหญ่ต้องติดตั้งประจำที่ ข้างในมีหลอดภาพ 3 หลอด ทำให้เกิดภาพแต่ละสีฉายผ่านเลนส์ออกมาปรากฏภาพบนหน้าจอ ความคมชัดยังไม่ดีนักและความสว่างของภาพก็ไม่มากพอ ทำให้ต้องฉายในห้องที่ค่อนข้างมืด เครื่องฉายรุ่นใหม่ได้แก้ไขจุดอ่อนเหล่านี้ได้หมดแล้ว โดยใช้แผ่นผลึกเหลว (Liquid Crystal Display หรือ LCD) เป็นตัวสร้างภาพ ทำให้เครื่องมีขนาดเล็กลงมาจนสามารถพกพาได้ อีกทั้งความสว่างและความคมชัดก็ดีขึ้นมากจนสามารถฉายในห้องที่มีแสงสว่างปานกลางได้
ส่วนที่จะขาดเสียมิได้ในการนำเสนอผลงานคือ คำบรรยายหรือบทพากย์ ซึ่งเป็นองค์ประกอบด้านโสตหรือเสียงนั่นเอง ข้อพิจารณา ในเรื่องนี้มีดังต่อไปนี้
1. การบรรยายสด เหมาะสำหรับประชุมหรือสัมมนาที่ต้องการให้ผู้ชมมีส่วนร่วมเพราะผู้บรรยายในกรณีนี้เป็นผู้ที่รู้เรื่องราวเกี่ยวกับเนื้อหาเป็นอย่างดี รู้ว่าควรจะเน้นตรงจุดใดและปฏิกิริยาจากผู้ชมสามารถติดตามทำความเข้าใจได้เพียงพอหรือไม่รู้ว่าส่วนไหนจะต้องอธิบายขยายความมากน้อยเพียงใด
2. การพากย์ เหมาะสำหรับเนื้อหาที่สามารถถ่ายทอดได้โดยไม่ต้องอาศัยการมีส่วนร่วมของผู้ชม ข้อดีคือสามารถเลือกใช้เสียงพากย์ที่มีความไพเราะน่าฟังน่าฟัง สามารถเลือกใช้ดนตรีหรือเสียงประกอบ (Sound effect) เพื่อสร้างบรรยากาศ แต่ข้อเสียคือไม่มีความยืดหยุ่นไม่สามารถปรับให้เหมาะสมกับความรู้สึกของผู้ชมในขณะนั้น (เช่นดนตรีแบ็กราวด์ช้า ๆ เย็นๆ อาจเหมาะกับท้องเรื่อง แต่บังเอิญต้องนำเสนอช่วงหลังอาหารกลางวัน ซึ่งอาจทำให้ผู้ชมรู้สึกง่วงนอน)
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น